แหล่งทุน

รู้จักตราสัญลักษณ์มาตรฐานสินค้าอินทรีย์

รู้จักตราสัญลักษณ์มาตรฐานสินค้าอินทรีย์
ของหน่วยงานต่างประเทศในประเทศไทย

          การตื่นตัวในเรื่องสุขภาพและความปลอดภัยในอาหารของคนไทยมีมากขึ้นทำให้มีสินค้าเกษตรกล่าวอ้างว่าเป็นอินทรีย์ในท้องตลาดเพิ่มมากขึ้นเช่นกัน  เพราะผู้คนต่างให้ความสนใจหาซื้ออาหารและผลิตภัณฑ์ที่ปลอดภัยจากการปนเปื้อนสารเคมีอันตรายและอินทรีย์ต่างๆแม้ว่าจะมีราคาแพงกว่าท้องตลาดก็ตาม   ดังนั้น การจะเป็นผู้บริโภคที่ชาญฉลาดควรตระหนักถึงการควบคุมมาตรฐานสินค้าเกษตรเหล่านี้ด้วยการพิจารณาเงื่อนไขการออกเอกสารรับรองจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเป็นพื้นฐาน  เพราะเราไม่สามารถทราบแหล่งที่มาที่ชัดเจนของสินค้าได้แน่ชัดนั่นเอง

          สำหรับผู้บริโภคที่มองหาตรารับรองมาตรฐานสินค้าอินทรีย์ระดับที่น่าเชื่อถือสามารถยอมรับได้ที่จะซื้อหามาทานหรือใช้งานได้ปลอดภัยที่พบเห็นได้ในประเทศไทย    เรามาทำความรู้จักการจัดแบ่งกลุ่มออกเป็น 3 ประเภทหลักๆ ดังนี้  
ตรารับรองมาตรฐานสินค้าเกษตรอินทรีย์

1. ประเทศผู้นำเข้ารายใหญ่มักกำหนดมาตรฐานการนำเข้าสินค้าของตนเพื่อเป็นการคุ้มครองผู้บริโภคในประเทศนั้นๆ ซึ่งส่วนใหญ่จะมีมาตรฐานแยกออกตามระดับความปลอดภัย อาทิ
- ประเทศสหรัฐอเมริกาได้กำหนดแผนงานเกษตรอินทรีย์แห่งชาติ (NationalOrganic Program : NOP) ขึ้นดำเนินงานภายใต้การกำกับดูแลของกระทรวงเกษตรสหรัฐอเมริกา (United States Department of Agriculture : USDA) ทั้งนี้ อาศัยตรามาตรฐานระบบเกษตรอินทรีย์สหรัฐอเมริกา(National Organic Program : NOP) ซึ่งกำหนดระบบการตรวจรับรองเกษตรอินทรีย์ขึ้นใช้ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2545 
- รัฐบาลแคนาดาเริ่มนำระบบมาตรฐานเกษตรอินทรีย์แคนาดา Canada Organic Regime (COR) บังคับใช้ตั้งแต่ปี พ.ศ.2552  โดยมีหน่วยงานรับผิดชอบ คือ Canadian Food Inspection Agency (CFIA)  ตราสัญญลักษณ์ที่ผ่านการตรวจรับรองต้องมีชื่อสินค้า รหัสหน่วยงานที่ทำการตรวจการรับรอง พร้อมกับระบุประเทศผู้ผลิต ทั้งภาษาอังกฤษและฝรั่งเศสกำกับให้เห็นได้ชัดเจนใกล้ๆ ตรามาตรฐานฯ 
- สหภาพยุโรปยังไม่อนุญาตให้ใช้คำว่า  Organic หรือ อินทรีย์ 100% บนฉลากสินค้า  การแสดงตรามาตรฐานเกษตรอินทรีย์สหภาพยุโรปที่ถูกต้อง กำหนดให้มีเลขรหัสหน่วยงานที่ทำการตรวจรับรองของสหภาพยุโรป ระบุประเทศของหน่วยงานผู้ตรวจรับรองกำกับไว้ ทั้งนี้ ต้องระบุประเทศแหล่งที่มาของสินค้าอินทรีย์นั้นๆ ไว้ใต้ตรามาตรฐาน

- กระทรวงเกษตร ป่าไม้ และประมง ของญี่ปุ่น (Ministry of Agriculture, Forestry and Fisheries – MAFF)เป็นผู้กำหนดระบบมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ผ่านการใช้ตรามาตรฐานระบบเกษตรอินทรีย์ญี่ปุ่น (Japanese Agricultural Standard : Organic JAS mark) หากมีการนำเข้าสินค้าเกษตรอินทรีย์ที่รับรองด้วยระบบมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ประเทศอื่น(ที่ประเทศญี่ปุ่น ยอมรับได้ อาทิ ระบบมาตรฐานเกษตรอินทรีย์แคนาดา เฉพาะที่ผลิตในแคนาดา ซึ่งเริ่มใช้เมื่อ  1 ม.ค. พ.ศ. 2558 ) ต้องแสดงตรามาตรฐานฯ ที่ยอมรับต้องแสดงคู่กับตรามาตรฐานฯ ของญี่ปุ่นเสมอ 


2. ตรามาตรฐานสินค้าอินทรีย์จากหน่วยงานตรวจรับรองภาคเอกชนต่างประเทศดำเนินการตรวจรับรองและได้รับความนิยมในประเทศไทย อาทิ
- ตรามาตรฐานระบบเกษตรอินทรีย์ไอเอ็มโอ-คอนโทรล (IMO-Control)
  โดยบริษัทตรวจรับรองสินค้าอินทรีย์จากประเทศสวิตเซอน์แลนด์
  ในนามบริษัทไอเอ็มโอ-คอนโทรล
- ตรามาตรฐานระบบเกษตรอินทรีย์อีโคเสิร์ช?(Ecocert)
  โดยบริษัทตรวจรับรองสินค้าอินทรีย์ประเทศฝรั่งเศส ในนามบริษัท อีโคเสิร์ช
- ตรามาตรฐานระบบเกษตรอินทรีย์ไบโออะกิเสิร์ช (Bioagricert)
  โดยบริษัทตรวจรับรองสินค้าอินทรีย์จากประเทศอิตาลี 
  มีสาขาย่อยในประเทศไทย คือบริษัท ไบโออะกริเสิร์ช (ไทยแลนด์) จำกัด
- ตรามาตรฐานระบบเกษตรอินทรีย์บีเอสซี(BSC : KO-GARANTIE GMBH – BSC)
  โดยบริษัทตรวจรับรองสินค้าอินทรีย์จากประเทศเยอรมันนี

  มีตัวแทนในประเทศไทยอยู่ที่ จ.เชียงใหม่

แลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์กับ"นายเล้งสวนเกษตรชี้นิ้ว"ได้ที่
Blogger       :   https://organicfarmlampang.blogspot.com/
Fanpage       :  https://www.facebook.com/LengFarm/
E-mail         :  lengorganicfarm@gmail.com
Line ID         :  https://line.me/ti/p/bUXglgMECd
Mobile         :  081-882-3678
Telephone    :  054-222-737