เพื่อเป็นการยืนยันคุณภาพและความปลอดภัยของสินค้าเกษตรแก่ผู้บริโภคตราสัญญาลักษณ์ที่ออกรับรองภายหลังการผ่านระบบตรวจสอบถือว่าเป็นเครื่องมือช่วยการตัดสินใจเลือกสรรสินค้าเกษตรปลอดภัยสำหรับผู้บริโภค
นอกจากตรารับรองมาตรฐานผลิตภัณฑ์เกษตรอินทรีย์
ซึ่งเป็นที่ยอมรับระหว่างต่างประเทศแล้วในประเทศไทยยังมีระบบการตรวจสอบและออกตรารับรองมาตรฐานโดย
2 หน่วยงาน ได้แก่ สำนักงานมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ (มกท.)และสำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ
(มกอช.) และยังมีตรารับรองมาตรฐานอื่นๆที่ให้การตรวจสอบและรับรองเฉพาะพื้นที่ที่น่าทำความรู้จักอีกหลายแห่ง
อาทิ
·
มาตรฐานเกษตรอินทรีย์ภาคเหนือ (มอน.)
·
มาตรฐานเกษตรอินทรีย์สุรินทร์ (มก.สร.)
·
มาตรฐานเกษตรอินทรีย์เพชรบูรณ์
·
มาตรฐานระบบเกษตรอินทรีย์
ชมรมเกษตรอินทรีย์เกาะพะงัน
องค์กรมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ภาคเหนือ (มอน.)
องค์กรที่จัดตั้งโดยความร่วมมือหลายฝ่าย
ประกอบด้วย เกษตรกร,
ผู้บริโภค, นักวิชาการจากองค์กรของรัฐ,
องค์กรพัฒนาเอกชน และผู้สนใจทั่วไป
ด้วยเป้าหมายการเป็นองค์กรรับรองผลิตผลของเกษตรอินทรีย์ ว่าเป็นผลิตผลที่ปลอดจากสารพิษ,
สารเคมีสังเคราะห์ และยังเอื้อต่อการรักษาสิ่งแวดล้อมอย่างแท้จริง
มาตรฐานเกษตรอินทรีย์สุรินทร์ (มก.สร.)
เป็นไปตามแนวทางการพัฒนางานเกษตรอินทรีย์ของจังหวัดสุรินทร์
ซึ่งได้รับอนุมัติจากที่ประชุมคณะกรรมการโครงการเกษตรอินทรีย์จังหวัดสุรินทร์ในปี
พ.ศ. 2547 มก.สร. จะทำการตรวจสอบและรับรองผลิตภัณฑ์อินทรีย์ไว้ในทุกขึ้นตอน
ตั้งแต่การผลิตในระดับแปลง การนำผลผลิตมาแปรรูป แลจำหน่ายผลิตภัณฑ์มาตรฐานครอบคลุมเฉพาะเรื่องการผลิตพืช
สัตว์อินทรีย์ สัตว์น้ำอินทรีย์ การจัดการเก็บเกี่ยว การแปรรูปผลิตภัณฑ์อินทรีย์
และปัจจัยการผลิต
มาตรฐานเกษตรอินทรีย์เพชรบูรณ์
พัฒนาขึ้นจากงานวิจัยในปี พ.ศ. 2553-54
ของนักวิชาการจากมหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ์ ร่วมกับชุมชนเกษตรกร ทางกลุ่มใช้มาตรฐานดังกล่าวเป็นมาตรการพัฒนาเครือข่ายเกษตรอินทรีย์เพื่อความพอเพียง
มั่งคั่ง ยั่งยืน และสร้างความเข้มแข็งให้กับเกษตรกร จนเกิดการรวมตัวพัฒนาเป็นเครือข่ายอย่างยั่งยืนเป็นรูปธรรม
การใช้มาตรฐานนี้เฉพาะกลุ่มที่ใช้ตรวจรับรองผู้สมัครเป็นสมาชิกเครือข่ายเกษตรอินทรีย์เพชรบูรณ์
ในสังกัดสถาบันเศรษฐกิจพอเพียงเครือข่ายเกษตรอินทรีย์เพชรบูรณ์เท่านั้น
มาตรฐานระบบเกษตรอินทรีย์ ชมรมเกษตรอินทรีย์เกาะพะงัน
เป็นระบบการตรวจรับรองมาตรฐานเกษตรอินทรีย์แบบใหม่ สมาชิกกลุ่มผู้ผลิต/ชุมชนมีส่วนร่วมในการตรวจสอบกันเอง
(Participatory
Guarantee System – PGS) เป็นระบบที่สมาพันธ์เกษตรอินทรีย์นานาชาติ
หรือที่รู้จักกันในชื่อย่อว่า IFOAM (International Federation of Organic
Agriculture Movements) ได้ร่วมกับหน่วยงานระหว่างประเทศและองค์กรเกษตรอินทรีย์ในต่างประเทศหลายแห่งพัฒนาขึ้น โดยการให้เกษตรกรในละแวกเดียวกันรวมตัวกัน
5-7 ราย เพื่อทำหน้าที่แวะเวียนไปตามฟาร์มต่างๆของสมาชิกในกลุ่ม แล้วทำการตรวจและรับรองกันเองในกลุ่ม จากนั้นนำรายงานและผลการตรวจรับรองขึ้นเว็บไซต์
ให้กับผู้สนใจเข้าไปตรวจสอบ
ระบบการตรวจรับรองมาตรฐานนี้ได้พัฒนาขึ้น
เมื่อปี พ.ศ. 2554 ภายใต้โครงการ “เกาะพะงัน
เกาะเกษตรอินทรีย์” ภายใต้การสนับสนุนจากกระทรวงพาณิชย์
ขอขอบคุณข้อมูลจาก
มหาวิทยาลัยแม่โจ้
: มาตรฐานเกษตรอินทรีย์สากล